Skip to content

Typesafe and IntelliSense for environment

Published: at 09:00 AM (2 min read)

ในการพัฒนาโปรแกรมปัจจุบัน การใช้ Environment Variables ถือเป็นสิ่งจำเป็น แต่หลายคนมักประสบปัญหาด้าน DX (Developer Experience) เนื่องจากไม่สามารถทราบได้ว่าตัวแปร Environment ที่ใช้อยู่นั้นเป็น Type อะไร หรือมีอยู่จริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีแก้ปัญหานี้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุง DX ให้ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มความสามารถ Autocomplete ที่จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการพัฒนา นอกจากนี้ยังสามารถแสดง Error message ที่เป็นมิตรกับนักพัฒนา ทำให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น แม้จะเป็นการแสดงผลใน Production ก็ตาม

Table of contents

Open Table of contents

Intro

Environment หรือตัวแปรสภาพแวดล้อม คือค่าที่ใช้กำหนดการตั้งค่าต่างๆ ของแอพพลิเคชัน ปกติแล้วยังไม่มี Intellisense และการใช้ Type-safe กับ environment เป็นการแก้ปัญหาที่มีประโยชน์ดังนี้:

  1. ความปลอดภัย: ป้องกันการเข้าถึงตัวแปรที่ไม่มีอยู่จริง
  2. การพัฒนาที่ดีขึ้น: มี Auto-complete และ IntelliSense ช่วยในการเขียนโค้ด
  3. ลดข้อผิดพลาด: ตรวจจับข้อผิดพลาดได้ตั้งแต่ช่วง Development
  4. การบำรุงรักษา: ทำให้โค้ดอ่านง่ายและจัดการได้ดีขึ้น

Environment Without Type (Current Problem)

การใช้ environment แบบไม่มีการระบุ type เป็นสิ่งที่ developer หลายคนทำซึ่งในการพัฒนาถ้าโปรแกรมไม่ได้ใช้ตัวแปรเหล่านี้มากก็อาจจะเกิดปัญหาได้น้อยแต่ก็มีโอกาสในเรื่องของ typo

Environment Without Type Declaration

Environment Type Declaration

ในกรณีนี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างจาก React(Typescript) + Vite ซึ่งปกติจะมาพร้อมกับ environment แบบ import.meta.env อยู่แล้ว แต่พอเราจะ .key ต่อไปเราจะไม่สามารถเห็น type หรือ editor ไม่สามารถ autocomplete ได้

เรามาลองแก้ปัญหาแรกแบบง่ายที่สุดด้วยการทำ Type Declaration ของ environment กัน

// vite-env.d.ts
/// <reference types="vite/client" />

interface ImportMetaEnv {
  readonly VITE_APP_TITLE: string // key ของ env ที่เรามีการ set value พร้อมที่จะใช้อาจจะมาจาก .env หรือ config vite.config.ts
  readonly VITE_APP_DEBUG: string
}

interface ImportMeta {
  readonly env: ImportMetaEnv
}

ต่อมาเมื่อเราลองมาดูผลลัพธ์จะเห็นว่า Intellisense ของ Editor เริ่มทำงานได้แล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการเพิ่ม DX ทำให้เราไม่มีปัญหาเรื่อง typo ได้

Vite Environment Type Declaration

Environment Schema Validation

ขั้นตอนต่อมาเป็นการทำ Schema เพื่อ Map กับ Environment ของเรา โดยที่ขั้นตอนนี้คือการทำ Validation จริงซึ่งสามารถบอก error ที่มีประโยชน์ให้กับเราได้และขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องทำร่วมกับขั้นตอนแรกเพราะมีตัวช่วยคือ zod

import { z } from 'zod';
const envSchema = z.object({
  VITE_APP_TITLE: z.string().default('default app name'),
  VITE_APP_DEBUG: z.enum(['true', 'false']).transform((value) => value === 'true'),
  VITE_APP_EXAMPLE_NUMBER: z.coerce.number().min(1000),
  VITE_APP_MAIL_FROM: z.string().email(),
});

const parsedEnv = envSchema.safeParse(import.meta.env);

if (!parsedEnv.success) {
  // crash the app we don't allow to run.
  console.error(parsedEnv.error);
  throw Error('Validate environment does not match to schema');
}

const environment = parsedEnv.data;

export { environment }
//.env
VITE_APP_TITLE=typesafe-env-example
VITE_APP_DEBUG=true
VITE_APP_EXAMPLE_NUMBER=3000
VITE_APP_MAIL_FROM=example@email.com

ตัวอย่างการแสดงผลเมื่อ Environment ถูกต้องตาม schema

Environment Correction with Schema Validation

Environment Type Safety

ตัวอย่างการแสดงผลเมื่อ Environment ไม่ถูกต้องตาม schema

Environment Incorrect with Schema Validation

Environment Incorrect with Schema Validation Number

Conclusion from writer

ผู้เขียนเป็นผู้ที่ชื่นชอบการใช้ type safe เป็นประจำแยู่แล้วเนื่องจากช่วยพัฒนา DX ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถอ่านและแก้ไขข้อผิดพลาดของ environment ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงขอแนะนำให้ลองนำ Typesafe มาใช้กับ environment ในโปรเจกต์ดูครับ


Previous Post
🚀 Remeda - A Modern TypeScript-First Utility Library
Next Post
Tailwind CSS Framework (Utility first)